อาการกรนเสียงดัง อาจจะสร้างความรำคาญ ให้กับผู้ที่อยู่รอบข้างเพื่อนร่วมห้อง หรือใครก็ตาม ที่อาจจะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับผู้ที่มีอาการกรนเสียงดังหรือเรียกว่านอนกรน ก็อาจจะเป็นช่วงของการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่ปกติสุนัข เราอาจจะรู้สึกรำคาญพาลทำให้นอนไม่หลับไปด้วย หรือจะต้องหงุดหงิดทุกครั้งที่จะต้องสะดุ้งตื่นขึ้นมา เพราะว่าเสียงคนข้างๆกรนดังสนั่น แต่สำหรับผู้ที่นอนกรน ก็ใช่ว่าจะมีความสุขมากมายในตอนหลับนอน เพราะอาการนอนกรนอาจจะนำมาซึ่ง การนอนหลับไม่สนิท จนทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย และอาจจะมีอาการง่วงระหว่างวัน ที่สำคัญคือ อาการนอนกรน อาจจะทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตก็เป็นได้ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็คือภาวะที่กล้ามเนื้อบริเวณลำคอมีการคลายตัวเป็นช่วงจนทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นจนแคบลง ทำให้ผู้ป่วย กรนเสียงดังเพราะหายใจลำบากนั่นเอง จนกระทั่งในกรณีที่ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลงมากๆอาจจะส่งผลต่อชีวิต หรือการดำเนิน ชีวิตประจำวันก็เป็นได้ ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน และถ้าหากอาการไม่รุนแรงก็สามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดน้ำหนัก ออกกำลังกายเป็นประจำหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ แต่ในระหว่างนี้ ก็ควรเปลี่ยนท่านอนจากการนอนหงายเป็นนอนตะแคงก็จะสามารถช่วยบรรเทาอาการนอนกรนลงได้
สาเหตุหลักของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินจนทำให้ไขมันไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อบริเวณลำคอมากจะพบได้มากว่าผู้มีคอหนามากกว่า 43 cm ย่อมทำให้ทางเดินหายใจแคบลงด้วยดังนั้นการหายใจจึงลำบากมากขึ้น และเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- พันธุกรรม อาจจะทำให้ทางเดินหายใจแคบ หรืออาจจะมีต่อมทอนซิล หรือ อะดีนอยด์ ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองอยู่บริเวณโพรงจมูกและลำคอเกิดอาการบวมโตจนทำให้ไปเบียดทางเดินหายใจ
- ผู้ที่มีอาการภาวะคัดจมูกหรือเยื่อบุโพรงจมูกบวมโต นอกจากนี้ยังมีผู้ที่มีปัญหาเรื่องผนังกั้นช่องจมูกคดแลผู้ป่วยริดสีดวงจมูกกลุ่มคนเหล่านี้จะมีทางเดินหายใจที่เล็กและแคบลง จนทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้มากถึง 2 เท่าของคนทั่วไป
- เพศก็มีผลต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับเช่นกันโดยเพศชายจะมีโอกาสเกิดปัญหานี้ได้มากกว่าเพศหญิงถึง 2 เท่าและผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน จะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายซึ่งอาจจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอคลายตัวมากกว่าปกติ
- โรคประจำตัวต่างๆ ก็มีผลเช่นกัน เช่น โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน และโรคหอบหืด
- พฤติกรรมต่างๆในการดำเนินชีวิตของเราเองไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่หรือการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดื่มแล้วเข้านอนทันทีนอกจากนี้การรับประทานอาหาร หรือรวมถึงยาระงับประสาทยาคลายเครียดยานอนหลับต่างๆ ก็มีผลต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้