นอนหลับ ร่างกายได้พักจริงหรือ? - Sleep Calculator

นอนหลับ ร่างกายได้พักจริงหรือ?

มีคนอ่านบทความนี้แล้ว 1293806729 คน

การนอนหลับและการตื่น เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้ในชีวิตประจำวันของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ มนุษย์ใช้เวลาประมาณหนึ่งในสามของชีวิตในการนอนหลับ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการนอนหลับต่อการดำรงชีวิต การนอนหลับมีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย เช่น มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน ความตื่นตัว การตัดสินใจ ความจำและการทำงานอื่นๆของระบบประสาท การนอนหลับเป็นเป็นปรากฏการณ์ที่ต้องอาศัยการทำงานอย่างมีระบบของระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับและการตื่น มนุษย์ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการนอนหลับคือร่างกายได้พักผ่อน เปรียบเสมือนปิดคอมพิวเตอร์ พอตื่นมาก็เหมือนเปิดคอมพิวเตอร์ร่างกายพร้อมลุย พร้อมประมวลผลต่อ แต่ในความเป็นจริง การนอนหลับของเราในชีวิตประจำวัน เป็นขบวนการที่มีระบบขั้นตอน และลำดับของกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งต้องทำความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

ระยะของการนอนหลับ (Sleep stages)

แม้ว่าการนอนหลับจะดูเหมือนร่างกายหยุดนิ่งหรืออยู่ในสภาวะคงที่ แต่จากการศึกษาพบว่าในช่วงเวลาของการนอนหลับยังสามารถแบ่งได้เป็นระยะต่างๆ ซึ่งมีลักษณะการแสดงออกทางสรีรวิทยาที่แตกต่างกัน วิธีการที่นิยมใช้ในการแยกระยะต่างๆ ของการนอนหลับ คือ Polysomnography  (PSG)  ซึ่งประกอบด้วยการบันทึกหลักๆ 3 ชนิด คือ

  • คลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogram; EEG) เพื่อบันทึกการทำงานของสมอง
  • คลื่นไฟฟ้าจากลูกตา (electro-oculogram; EOG) แสดงถึงการกลอกตา
  • คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyogram; EMG) บันทึกการหดตัวและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone)

ภาพ 1       Polysomnography แสดงการติดขั้วบันทึกที่ข้างตาซ้าย (E1) และตาขวา (E2) เพื่อบันทึก electro-oculogram (เส้นบันทึกสองเส้นบน) ขั้วบันทึกที่คางสำหรับบันทึก electromyogram (EMG) และขั้วบันทึกที่หนังศีรษะ (C4, C3) สำหรับบันทึก electroencephalogram (เส้นบันทึกเส้นล่าง) ขั้วบันทึกที่ใบหูทั้งสองข้าง (A1, A2) ใช้เป็นขั้วเปรียบเทียบ (reference electrode)

ทำให้สามารถแยกการช่วงของการนอนหลับได้เป็น Rapid Eye Movement Sleep (REM Sleep) และ Non rapid eye movement sleep (NREM Sleep) ยังแบ่งย่อยออกได้เป็น 4 ระยะ (NREM stage I – IV) ตามระดับความลึกของการนอนหลับ โดยสังเกตเห็นลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและความถี่ลดลงตามลำดับ

ภาพ 2      Polysomogram แสดงระยะต่างๆ ของการนอนหลับ และขณะตื่น  [Ganong, 2013]

NREM stage I เป็นระยะเริ่มหลับ คลื่นไฟฟ้าสมองจะมีขนาดเล็ก มีความถี่หลายๆ ความถี่ สังเกตเห็น Theta wave ซึ่งมีความถี่ประมาณ 4-7 Hz แทรกขึ้นมา คลื่นสมองชนิดนี้ พบในภาวะที่จะเลื่อนไหลจากการรู้สึกตัว ไปสู่การง่วงเหงาหาวนอน และจะพบได้ในขณะที่คนคนนั้นทำสมาธิอยู่ในระดับสูงๆ ระยะนี้สามารถปลุกให้ตื่นได้ง่าย

 

NREM stage III และ NREM stage IV เป็นระยะที่หลับลึก ปลุกให้ตื่นได้ยาก คลื่นไฟฟ้าสมองที่เด่นในช่วงนี้คือ delta wave ซึ่งเป็นคลื่นขนาดใหญ่มีความถี่ประมาณ 0.5-4 Hz โดยจะมีมากที่สุดใน NREM stage IV ด้วยเหตุนี้จึงเรียกระยะนี้ของการนอนหลับว่า slow wave sleep (SWS) ในบางตำราจะรวม ทั้งสองระยะนี้ของการนอนหลับเป็น NREM stage III ของการนอนหลับ

 

ตลอดช่วง NREM sleep การหดตัวของกล้ามเนื้อและความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะลดลงตามลำดับ และไม่พบการกลอกตาเป็นจังหวะในระยะนี้

 

REM Sleep เป็นระยะที่ยังคงหลับอยู่ ระยะของการนอนชนิดนี้ กินระยะเวลาประมาณ 20-25 % ของเวลาการนอนทั้งหมด แต่คลื่นไฟฟ้าฟ้าสมองมีขนาดเล็กและความถี่สูงคล้าย beta wave ที่พบในขณะตื่น ระยะนี้จึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า paradoxical sleep ระยะนี้จะมีการกลอกตาเป็นจังหวะอย่างรวดเร็วให้ตรวจพบได้ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tone) จะหายไป sympathetic activity จะสูงขึ้น ในระยะนี้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกเช่น เสียงดัง หรือสิ่งเร้าภายใน เช่น ภาวะการขาดออกซิเจน จะน้อยมากเมื่อเทียบกับระยะ NREM นอกจากนี้ยังพบการแข็งตัวของอวัยวะเพศเกิดขึ้นในช่วง REM sleep ด้วย

ภาพ 3      คลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) แสดงลักษณะของคลื่นไฟฟ้าสมองที่ช่วงความถี่ต่างๆ ที่พบได้ในภาวะปกติและผิดปกติ (A) และคลื่นไฟฟ้าสมองที่บันทึกได้ที่ระยะต่างๆ ของการนอนหลับ สังเกตว่าขณะตื่นคลื่นไฟฟ้าสมองจะขนาดเล็กและความถี่สูง (beta wave) และคลื่นไฟฟ้าสมองจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและความถี่ลดลงตามลำดับใน NREM stage I-IV

อ้างอิง

 

วัฏจักรของระยะของการหลับ

ในแต่ละคืนของการนอนหลับปกติ จะประกอบด้วยวงจรของ NREM – REM ประมาณ 3 – 6 รอบ (cycle) ต่อเนื่องกันไป เรียกวงจรของ NREM – REM นี้ว่า ultradian rhythm ซึ่งแต่ละรอบจะใช้เวลาประมาณ 90 – 110 นาที

หลังเริ่มเข้านอน คนปกติจะใช้เวลาประมาณ 15 – 20  นาที ในการเข้าสู่ NREM stage I ระยะเวลาตั้งแต่เข้านอนจนถึงเริ่มหลับนี้เรียกว่า sleep latency ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้จากหลายปัจจัย เช่น หากอดนอนจะทำให้ sleep latency สั้นลง หรืออายุน้อยจะมี sleep latency สั้นกว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เป็นต้น จากนั้นการหลับจะดำเนินต่อไปเข้าสู่ระยะของการหลับลึกมากขึ้น (NREM stage II – IV) และ REM sleep ตามลำดับ โดย REM sleep ครั้งแรกจะปรากฏประมาณ 90 นาทีหลังเริ่มหลับ วงจรของ NREM – REM ดังกล่าวข้างต้นเกิดซ้ำทุก 90-110 นาที โดยในแต่ละคืนของการนอนหลับจะเป็นการนอนหลับใน NREM stage I, II ประมาณ 50 – 60% และ REM sleep ประมาณ 20 – 25% ของระยะเวลาการนอนทั้งหมด (total sleep time) โดยระยะเวลาของ REM sleep จะยาวขึ้นตามลำดับในรอบหลังๆ ของการนอนหลับ ซึ่งตรงข้ามกับ NREM stage III, IV ซึ่งจะพบได้ในรอบต้นๆ ของการนอนหลับและปรากฏน้อยลงในช่วงท้าย ระยะเวลาของการนอนหลับ และสัดส่วนของการนอนหลับในช่วง NREM stage III, IV และ REM sleep จะลดลงตามอายุ

ภาพ 4       โครงสร้างของการนอนหลับ (ซ้าย) และระยะเวลาการนอนหลับ (total sleep time) และสัดส่วนของการนอนหลับในระยะต่างๆ เทียบกับอายุ (ขวา) [Ganong, 2010]

กลไกการเกิด NREM และ REM sleep

การนอนหลับในช่วง REM มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากการนอนหลับในระยะ NREM ที่สำคัญคือ ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองที่คล้ายตอนตื่น การกลอกตาเป็นจังหวะอย่างรวดเร็ว และการหายไปของ muscle tone สาเหตุเกิดจากการทำงานของสมองที่แตกต่างกันในระยะ NREM และ REM โดยพบว่าในการนอนหลับระยะ REM กลุ่มเซลล์ประสาทที่หลั่งสารสื่อประสาท noradrenaline และ serotonin ยังคงทำงานลดลง ขณะที่เซลล์ประสาทประสาทที่หลั่งสารสื่อประสาท acetylcholine ในก้านสมองทำงานเพิ่มขึ้น เซลล์ประสาทกลุ่มนี้จะส่งปลายประสาทไปยัง thalamus และ basal forebrain ทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าสมองที่เป็นลักษณะ desynchronized ปลายประสาทที่ส่งไปยัง paramedian pontine reticular formation (PPRF) ซึ่งไปมีผลต่อเซลล์ประสาทสั่งการของกล้ามเนื้อลูกตา ทำให้เกิดการกลอกตา นอกจาพำกนี้เซลล์ประสาท cholinergic ในก้านสมองยังส่งปลายประสาทไปกระตุ้น medullary reticular formation ซึ่งมีบทบาทยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อทรงตัวของร่างกายผ่านทาง medulary reticulospinal tract ทำให้ muscle tone ลดลง

ภาพ 7      กลไกการเกิด REM sleep: REM on (cholinergic neuron ใน LDT/PPT) ทำงานเพิ่มขึ้นในช่วง REM sleep ไปกระตุ้น thalamus ทำให้เกิด cortical activation กระตุ้น pontine paramedian reticular formation (PPRF) ซึ่งควบคุม ocular motor nucleus (OMN) ทำให้เกิดการกลอกตาเป็นจังหวะ และยังไปกระตุ้น ventromedial medullary reticular formation ส่งผลยับยั้ง α-motoneuron ทำให้เกิด muscle atonia ขณะที่ REM-off (monoaminergic neuron ใน locus ceruleus และ raphe nucleus) ทำงานลดลงในช่วง REM sleep [ดัดแปลงจาก Benarroch, 2006]

บทความที่น่าสนใจ
Nautilus patek
Nautilus หนึ่งในนาฬิกาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของแบรนด์ Patek Philippe

ไม่มีใครที่เป็นนักสะสมนาฬิกาหรูแล้วจะไม่รู้จักสินค้าจากแบรนด์ Patek Philippe หนึ่งในผู้ผลิตนาฬิการะดับ High-class ที่ได้รับการยอมรับของเศรษฐีและเซเลบริตี้คนดังที่ต่างสวมใส่กันไปทั่วโลก โดยถ้าหากใครที่เป็นสาวกแบรนด์สินค้าไฮโซจากสวิตเซอร์แลนด์อยู่แล้ว เชื่อว่าคงไม่มีใครที่ไม่คุ้นหูกับชื่อของ Patek Philippe Nautilus หนึ่งในนาฬิกาที่เป็นที่ต้องการของเหล่านักสะสมมากที่สุด ทำให้ความนิยมของนาฬิกามือสองของรุ่นนี้เป็นที่ต้องการของนักสะสมทั่วโลก Patek Philippe Nautilus นาฬิกาเรือนดังกล่าวถือกำเนิดขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1970 ณ ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ที่นักเอาแบบผู้มีชื่อเสียงได้บรรจงวาดต้นแบบของมันขึ้นมาบนกระดาษ โดยใช้เวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น ก่อนจะนำรูปดังกล่าวกลับไปเพิ่มลายละเอียดและปรับแก้ไขต่อจนเสร็จสมบูรณ์ผ่านการสร้างสรรค์ภายใต้คำนิยามว่า ” ความสปอร์ตหรู “ และหลังจากที่ Nautilus เริ่มเป็นที่แพร่หลายจนได้รับความนิยมจนกลายเป็นของสะสมล้ำค่า ราคาของนาฬิกาก็เริ่มพุ่งสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบัน Nautilus รุ่นที่ผลิตจากสตีลเหล็กแบบเพียว ๆ โดยไม่ได้ประดับทองหรือเพรช ก็มีราคาเกินหนึ่งล้านบาทเข้าไปแล้ว หากใครที่กำลังมองหานาฬิกาหรูซักเรือนเป็นของตัวเองนับว่า Patek Philippe Nautilus คือตัวเลือกที่ดีที่คุณจะได้ใช้มัน เพราะนอกจากความหรูหราแล้ว นาฬิกายังให้อารมณ์สปอร์ตทำให้ผู้ใส่ดูมีความทันสมัยขึ้น แถมยังเหมาะสำหรับใช้ทุกโอกาส เนื่องจากนาฬิกาผลิตจากวัสดุเหล็กที่มีคุณภาพสูง หรือถ้าใครที่เป็นนักสะสมนาฬิกา Patek Philippe ก็ถือว่าไม่ควรมองข้ามรุ่น Nautilus ไปด้วยประการทั้งปวง เครดิต […]

นั่งร้าน ลิ่มล็อค นั่งร้านแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกสายงาน ทุกอาชีพ

นั่งร้านอุปกรณ์เพื่อการทำโครงสร้าง ที่หลายกิจกรรมในสังคมแทบจะขาดมันไปไม่ได้ เนื่องจากมันเป็นอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวก พร้อมทั้งลองรับการใช้งานได้มากมายหลายประเภท ทั้งการทำพื้นลอยสำหรับช่างก่อสร้างได้ปฏิบัติงานสร้างอาคารที่มีความสูง เวทีคอนเสิร์ตเพื่อให้นักแสดงได้ยืนทำการแสดง ทำเป็นที่วางอุปกรณ์ขนาดใหญ่อย่าง เช่น ลำโพง หรือ สินค้าจัดแสดง และอีกมากมาย แล้วแต่ว่าผู้ต้องการจะนำไปใช้ทำอะไร โดยนั่งร้านนั้นก็มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายประเภท รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ในการผลิตก็ยังค่อนข้างที่จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ แบบเหล็ก ที่มีความแข็งแรงสูง เพราะผู้ใช้งานสามารถมั่นใจได้ว่ามันจะรองรับนำหนักได้ในปริมาณมากโดยที่ไม่ถล่มลงมา เหมือนกับการใช้วัสดุอื่น ๆ อย่างเช่น ไม้ ในการทำ แบบเหล็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากนั่งร้านเหล็กนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายเกรด ซึ่งในสมัยก่อนผู้รับเหมาส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้นั่งร้านที่มีราคาถูกเพื่อประหยัดต้นทุนของการทำงาน โดยเฉพาะนั่งร้านแบบมาตรฐานญี่ปุ่น ที่มีส่วนประกอบของ ฝาครอบ ข้อต่อ ขาตั้ง และ กากบาท อันเป็นนั่งร้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่พอมายังในยุคปัจจุบัน การมาของนั่งร้านแบบ ลิ่มล็อค ก็ได้ทำให้ตลาดนั่งร้านเปลี่ยนแปลงไป จนทำให้ไม่ว่าใครต่างก็พากันหันไปเลือกใช้นั่งร้านแบบ ลิ่มล็อค ด้วยกันทั้งสิ้น นั่งร้านลิ่มล็อค เป็นนั่งร้านรูปแบบใหม่ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง จากโครงสร้างที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ รวมไปถึงการรองรับการใช้งานที่หลากหลายมากกว่านั่งร้านแบบญี่ปุ่น เนื่องจากตัวข้อต่อสามารถถอดประกอบได้ มันจึงสามารถนำไปใช้ประยุกต์ให้เข้ากับงานต่าง ๆ ได้ แม้แต่การต่อเป็นหอคอยขนาดใหญ่เพื่อใช้สำหรับก่อสร้างตึกสูง ขณะเดียวกัน ด้วยการใช้โครงสร้างที่มั่นคงและใช้วัสดุที่ทำจากเหล็ก จึงทำให้นั่งร้านลิ่มล็อคบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่านั่งร้านแบบอื่น […]

วิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ตกปลา
อุปกรณ์ตกปลาเบื้องต้น และ วิธีการรักษารอกตกปลา

อาวุธข้างกายสำหรับการตกปลาที่นิยมกันก็คือรอกนั่นเอง หากว่าเบ็ดตกปลาเปรียบเสมือนแขนขาของผู้ตกปลา รอกนี้ก็เปรียบเสมือนจุดศูนย์กลาง ของการตกปลาเลยทีเดียว เมื่อใช้อุปกรณ์เสร็จก็ควรเก็บรักษาให้เข้าที่อย่างเป็นระเบียบ ทุกครั้ง เพื่อเป็นการลดความสึกหรอของกลไกการตกปลา เราไม่แนะนำให้แกะรอกตกปลา เพราะว่าอุปกรณ์รอกนี้มีความสำคัญมาก หากว่าไม่มีความรู้ความชำนาญ แกะไปอาจจะพังได้เลย หรือว่าหากชิ้นส่วนใดหายไปเราก็ไม่รู้อีก การทำความสะอาดบางครั้ง หากว่าเราไม่มีความชำนาญมากพอหรือว่าปล่อยปละละเลย เราควรดูแลรักษารอกตกปลาให้เป็นอย่างดี เบื้องต้นเลยก็คือการตกปลาในน้ำกร่อย หรือว่าน้ำเค็ม ควรจะปิดเบรกแล้วล้างน้ำผ่านรอก หรือหมุนรอกไปด้วยแล้วก็เปิดน้ำก๊อกไปด้วยนั่นเอง เพื่อให้รอกถูกน้ำชะล้างในทุกส่วน เมื่อทำความสะอาดเสร็จก็ให้เช็ดให้สะอาด เพราะว่าสายด้านในอาจจะเค็ม เราต้องล้างด้วยน้ำสะอาด ส่วนสปูนส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนียมอัลลอน หรือเรียกว่าง่ายๆ ว่าเกลือคือไม่ควรโดนน้ำเค็ม เพระว่าหากถูกน้ำเค็ม มันจะขึ้นสนิมทันที หรือว่ามันจะเกิดการกัดกร่อนกับสปูนได้ จุดหล่อลื่นน้ำมันของรอกสปินนิ่ง แบบไม่ถอดล้างภายในก็คือ ลายโรเลอร์ ตัวนี้เป็นตัวที่รับแรงโหลดจากสาย มากที่สุด จุดนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะว่าลูกปืนเหล่านี้มันมีขนาดเล็กอาจจะกลิ้งตกหายได้ หรือหากว่าไม่มีการหล่อลื่นที่เพียงพอ จะทำให้ลูกปืนตาย ก็คือต้องดูแลเป็นพิเศษทั้งจากน้ำจืดหรือว่าน้ำเค็ม ลูกปืนหล่อลื่นเมนเกียร์ ที่มีสองข้างจะต้องหยอดน้ำมันเพื่อกันการฝืดเคือง แล้วฉีดสเปรย์ลงไปที่ลูกปืน แล้วค่อยหมุนลูกปืนให้น้ำมันไหลลงไปตามราง ลูกปืนประคองสปูน หล่อลื่นแกนสปูนให้ลายชักขึ้น-ลง เพื่อให้มันใช้งานได้ไหลลื่น สรุป จุดที่ต้องหล่อลื่นด้วยน้ำมัน คือ ลายโรเลอร์ , ลูกปืนหล่อลื่นเมนเกียร์, ลูกปืนประคองสปูน ส่วนที่เป็นข้อพับต่างๆ สามารถใช้น้ำมันหล่อลื่นได้เอง […]