Sleep Calculator

นอนวันละ ๘-๑๐ ชม. อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อันตราย จริงหรือ ?

 

การนอนมากอาจเป็นเพียงความเคยชินเท่านั้นเอง (เหมือนกินมากนั่นแหละ) ทั้งที่อาจไม่ได้มีความจำเป็นต่อร่างกายมากอย่างที่คิด

 

ถ้าเราสังเกตุจาก รูปแบบการนอน ที่กล่าวมาข้างต้นการ การนอนที่ซ่อมแซมร่างกาย มีเพียงช่วง 3-4 ชั่วโมงแรกเท่านั้น ซึ่งการนอนช่วงนี้จะทำให้เราหน้าเด็กขึ้น เนื่องจากการสร้าง Growth Hormones ออกมาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่จริงๆวิธีที่จะทำให้เราหน้าเด็กมากขึ้นจากการนอนปกติ ก็คือเราต้องแบ่งการนอนออกเป็น สองช่วง โดยนอนครั้งแรกประมาณ 4 ชั่วโมง จากนั้นตื่นขึ้นมาประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนอนต่อ จะทำให้เกิดการสร้าง Growth Hormones ในการนอนครั้งหลังด้วย (Takahashi et al., 1968) การนอนแบบนี้จะเป็นเหมือนการนอนแบบสมัยโบราณ ซึ่งทำให้เรา นอนอิ่มมากขึ้น และจะไม่ค่อยรู้สึกเหนื่อยระหว่างวันอีกด้วย นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่า การนั่งสมาธิระดับสูง (Deep Meditation) ก็สามารถปล่อย Growth Hormones ได้อีกด้วย

 

อันตราย! ผลวิจัยระบุคนที่นอนเกินวันละ 8 ชั่วโมง

ไม่ว่าจะเป็นพวกนอนจนตะวันสายโด่ง หรือพวกที่แอบหลับตอนบ่าย มีแนวโน้มเพิ่มเท่าตัวที่จะเป็น โรคอัลไซเมอร์

 

แม้ เหตุผลในเรื่องนี้ยังไร้ซึ่งความชัดเจน แต่อาจเป็นไปได้ว่าการนอนมากเกินไปเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมแบบอื่นๆ นอกจากนั้น ยังเป็นสัญญาณของอาการซึมเศร้า ซึ่งรู้กันว่าเพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมในผู้สูงวัย

 

ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงเรียกร้องให้แพทย์ค้นหาพฤติกรรมการนอนนานผิดปกติ เพื่อเตือนถึงความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

 

มีบางเว็บไซต์ที่ระบุว่า การนอนมากเกินไปเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์

 

เว็บไซต์ http://www.unigang.com/Article/6169   ได้ระบุว่า  อันตราย! ผลวิจัยระบุคนที่นอนเกินวันละ 8 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นพวกนอนจนตะวันสายโด่ง หรือพวกที่แอบหลับตอนบ่าย มีแนวโน้มเพิ่มเท่าตัวที่จะเป็น โรคอัลไซเมอร์

 

แม้ เหตุผลในเรื่องนี้ยังไร้ซึ่งความชัดเจน แต่อาจเป็นไปได้ว่าการนอนมากเกินไปเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อมแบบอื่นๆ นอกจากนั้น ยังเป็นสัญญาณของอาการซึมเศร้า ซึ่งรู้กันว่าเพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมในผู้สูงวัย

 

ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงเรียกร้องให้แพทย์ค้นหาพฤติกรรมการนอนนานผิดปกติ เพื่อเตือนถึงความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

 

งานวิจัยล่าสุดนี้จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมาดริด สเปน โดยการศึกษาชาย-หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 3,286 คน  กลุ่ม ตัวอย่างแต่ละคนจะถูกสอบถามประวัติสุขภาพและรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น นอนเฉลี่ยวันละกี่ชั่วโมง โดยครอบคลุมการงีบหลับตอนกลางวันด้วย

 

จาก นั้น นักวิจัยจะติดตามผลกลุ่มตัวอย่างนานกว่าสามปี ซึ่งปรากฏว่าในระหว่างนั้นมี 140 คนที่มีอาการอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมรูปแบบอื่นๆ

 

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่นอนวันละเกิน 8-9 ชั่วโมง มีแนวโน้มเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว

 

ในรายงานที่อยู่ในวารสารยูโรเปียน เจอร์นัล ออฟ นิวโรโลจี้ นักวิจัยระบุว่าได้ค้นพบความเชื่อมโยงชัดเจนระหว่างการนอนนานๆ กับโรคสมองเสื่อม

 

การนอนนานๆ อาจเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคนี้ หรืออาจทำให้ความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น แต่กลไกของความเชื่อมโยงนี้ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้?

 

ดร.ซูซานน์ ซอเรนเซน หัวหน้าฝ่ายวิจัยของอัลไซเมอร์ โซไซตี้ แสดงความเห็นว่า รายงานฉบับนี้สะท้อนว่าการนอนนานกว่าปกติและความรู้สึกง่วงเหงาซึมเซา ระหว่างวัน อาจเชื่อมโยงกับการเป็นโรคสมองเสื่อมภายในสามปี

 

ไม่ มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรมที่บ่งชี้ว่าการนอนนานกว่าปกติเป็นปัจจัย เสี่ยงโดยตรงของโรคสมองเสื่อม แต่อาจเป็นเพียงสัญญาณเบื้องต้นของอาการที่ยังตรวจไม่พบเท่านั้น เนื่องจากขณะนี้มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างเป็นทางการ ดังนั้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อยืนยันงานศึกษา ล่าสุดนี้?

 

อัลไซเมอร์ นั้นเป็นตัวทำลายสารสื่อสารในสมอง โดยเริ่มต้นจากการที่ตะกอนพิษสะสมในสมอง และขัดขวางระบบการสื่อสารปกติโดยทำให้เกิดการอักเสบ  แม้ยังไม่ทราบ สาเหตุที่แน่ชัด แต่นักวิจัยแนะนำให้ลับสมองเป็นประจำ เช่น โดย การเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ เล่นไพ่ อ่าน-เขียนหนังสือ นอกจากนั้น ผลวิจัยที่เปิดเผยออกมาเมื่อต้นสัปดาห์ยังพบว่า การออกกำลังกายเป็นประจำและกินอาหารที่อุดมด้วยผัก ผลไม้ น้ำมันปลา และถั่ว ช่วยลด ความเสี่ยงอัลไซเมอร์ได้ถึง 80%  ขณะ เดียวกัน การศึกษาที่ออกมาเมื่อต้นปี พบว่าการนอนมากเกินไปมีส่วนเกี่ยวพันกับโรคเบาหวานประเภทสอง โดยการนอนหลับหลังอาหารกลางวันเป็นประจำเพิ่มความเสี่ยง 26% ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวไปขัดขวางการรักษาสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย

 

เมื่อเราทราบถึงข้อดี ข้อเสียของการนอนมากไป ทำให้เราก็สามารถปรับวิถีชีวิตของการนอน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน บริหารจัดการเวลาให้พอดี และดีพอต่อการหลับนอน มาดูแลสุขภาพของเรากันเถอะ